ตัวอักษรญี่ปุ่น ฮิรางานะ (Hiragana) 46 ตัว พร้อมตาราง+เทคนิควิธีจำ

31715
ตัวอักษรฮิรางานะ (Hiragana)

วันนี้เรามีความรู้เกี่ยวกับ “ตัวอักษรญี่ปุ่น” แบบเบื้องต้นมากฝาก เรียกกว่าเป็นการเริ่มต้นขั้นแรกที่จะทำให้เราพัฒนาการเรียนภาษาญี่ปุ่นได้ดียิ่งขึ้นค่ะ ซึ่งก็คล้ายๆ กับการเรียน A-Z ในภาษาอังกฤษนี่แหละค่ะ เพียงแต่ว่าภาษาญี่ปุ่นไม่ได้มีตัวอักษรแค่ชุดเดียว แต่มีถึง 3 ชุดด้วยกัน! โดยประกอบด้วย ฮิรางานะ (Hiragana), คาตาคานะ (Katakana) และ คันจิ (Kanji)

นอกจากนี้ก็ยังมี โรมาจิ (Romaji) ที่เป็นตัวหนังสือภาษาอังกฤษซึ่งใช้แทนการอ่านออกเสียงภาษาญี่ปุ่น หรือที่หลายคนอาจเรียก “ภาษาคาราโอเกะ” นั่นเอง เป็นอีกรูปแบบของระบบการเรียนภาษาญี่ปุ่นสำหรับชาวต่างชาติที่ใช้กันอย่างแพร่หลายค่ะ สำหรับกาเรียนตัวอักษรภาษาญี่ปุ่นเบื้องต้นนี้ แอดมินจะขอแนะนำเฉพาะตัวอักษรฮิรางานะ (Hiragana) และ คาตาคานะ (Katakana) ซึ่งมีทั้งหมดอย่างละ 46 ตัวนะคะ ส่วนตัวคันจิที่เป็นตัวอักษรแบบจีนนั้นมีเป็นพันๆ ตัวเลยค่ะ (ฟังแล้วจะเป็นลม ฮ่าๆ)

ตารางตัวอักษรฮิรางานะ (Hiragana) & คาตาคานะ (Katakana)
ตารางตัวอักษรฮิรางานะและคาตาคานะ
(อ่านจากบน→ล่าง / ขวา→ซ้าย ตามรูปแบบญี่ปุ่น)

นอกจากนี้ เรายังมีเคล็ดลับในการจำตัวอักษรภาษาญี่ปุ่น ซึ่งเป็นเทคนิคที่คุณครูสมัยก่อนของเราสอนมาค่ะ จนตอนนี้ผ่านมาเป็นสิบกว่าปีแล้วก็ยังคงใช้ได้อยู่ สำหรับในบทความแรกนี้จะขอเริ่มกันที่ตัวอักษรฮิรางานะกันก่อนนะคะ ว่าแล้วก็ไปดูกันดีกว่า!

เกี่ยวกับตัวอักษรฮิรางานะ

ひらがな

ตัวอักษรฮิรางานะ (Hiragana) หรือ ひらがな (ฮิระงะนะ) ในภาษาญี่ปุ่นมีความหมายว่า “อักษรพยางค์สามัญคาด” เป็นตัวอักษรญี่ปุ่นที่สร้างขึ้นโดยใช้ตัวอักษรคันจิ (ตัวอักษรจีน) เป็นพื้นฐาน มีมาตั้งแต่สมัยเฮอันหรือประมาณ ค.ศ. 800 ในสมัยก่อนฮิรางานะนั้นเป็นตัวอักษรที่ผู้หญิงใช้เป็นส่วนใหญ่ แต่ปัจจุบันนั้นได้ใช้กันโดยทั่วไป โดยใช้ในคำที่ไม่มีคันจิ และยังใช้ในคำช่วยและส่วนท้ายของคำกริยา และยังเป็นอักษรพื้นฐานในการเรียนภาษาญี่ปุ่นขั้นต้นอีกด้วย

นอกจากนี้ ตัวอักษรฮิรางานะยังใช้ในการเขียนกำกับไว้กับตัวอักษรคันจิ ซึ่งมีชื่อเรียกว่า ฟุริงานะ (Furigana) เพื่อช่วยบอกเสียงคำอ่านของคันจินั้นๆ โดยเขียนเป็นตัวหนังสือเล็กๆ อยู่ด้านบนหรือด้านข้างของตัวอักษรคันจิแล้วแต่กรณี

ข้อมูลทั่วไป

  • จำนวนตัวอักษร: มีทั้งหมด 46 ตัว
  • เสียงสระ: 5 เสียง ได้แก่ あ(อะ), い(อิ), う(อุ), え(เอะ), お(โอะ)
  • เสียงพิเศษ: ん(อึน) ใช้เป็นตัวสะกดหรือส่วนประกอบเสียงกับพยัญชนะอื่นๆ
  • วรรคที่ไม่มีตัวอักษรครบทั้ง 5 เสียง:
    • วรรค や(ยะ) มีตัวอักษรเพียง 3 ตัว
    • วรรค わ(วะ) มีตัวอักษรเพียง 2 ตัว

หมายเหตุ: を(โอะ) ออกเสียงเหมือนกับ お(โอะ) แต่ を(โอะ) จะใช้เป็นคำช่วยในภาษาญี่ปุ่น

ตารางตัวอักษรและการออกเสียง

อะ (a)อิ (i)อุ (u)เอะ (e)โอะ (o)
คะ (ka)คิ (ki)คุ (ku)เคะ (ke)โคะ (ko)
ซะ (sa)ชิ (shi)ซุ (su)เซะ (se)โซะ (so)
ทะ (ta)จิ (chi)ทสึ (tsu)เทะ (te)โทะ (to)
นะ (na)นิ (ni)นุ (nu)เนะ (ne)โนะ (no)
ฮะ (ha)ฮิ (hi)ฟุ (fu)เฮะ (he)โฮะ (ho)
มะ (ma)มิ (mi)มุ (mu)เมะ (me)โมะ (mo)
  
ยะ (ya) ยุ (yu) โยะ (yo)
ระ (ra)ริ (ri)รุ (ru)เระ (re)โระ (ro)
   
วะ (wa)   โอะ (o)
    
    อึน (n)

เทคนิควิธีการจำตัวอักษร

ひらがな (Hiragana)
  • ควรจำเสียงอ่านขึ้นต้นของแต่ละวรรคให้ได้ ซึ่งมีจำนวนทั้งหมด 10 แถว แล้วจำเสียงอ่านตัวอักษร ซึ่งมีจำนวนวรรคละ 5 ตัว โดยการอ่านจากซ้ายไปขวา จะช่วยให้สามารถจำทั้ง 46 ตัวอักษรได้ไม่ยากนัก
    • เสียงอ่านขึ้นต้นแต่ละวรรค: ได้แก่ あ(อะ), か(คะ), さ(ซะ), た(ตะ), な(นะ), は(ฮะ), ま(มะ), や(ยะ), ら(ระ), わ(วะ)
    • เสียงอ่านจากซ้ายไปขวา: เช่น
      • วรรค あ(อะ) ก็อ่าน あ(อะ), い(อิ), う(อุ), え(เอะ), お(โอะ)
      • วรรค か(คะ) ก็อ่าน か(คะ), き(คิ), く(คุ), け(เคะ), こ(โคะ)
    • หมายเหตุ: ในบางวรรคจะมีบางตัวอักษรที่ออกเสียงที่ต่างไป เช่น ち(จิ) และ つ(ทสึ) ในววรค た(ทะ)
  • ฝึกจำเป็นเซตอักษรคล้ายกันโดยเฉพาะ เช่น あ(อะ) – お(โอะ), は(ฮะ) – ほ(โฮะ), る(รุ) – ろ(โระ)
  • ฝึกคัดตัวหนังสือบ่อยๆ และหมั่นทบทวนจนกว่าจะจำได้แม่น หากยังติดขัดตรงตัวไหน ให้เน้นคัดตัวนั้นเป็นพิเศษ
  • ใช้บัตรคำศัพท์ช่วยจำ ซึ่งสามารถหาซื้อได้ตามร้านหนังสือ หรือสามารถประดิษฐ์เองก็ได้

ตัวอย่างคำศัพท์

คำศัพท์โรมาจิเสียงอ่านคำแปล
いぬinuอินุสุนัข
かわいいkawaiiคาวาอีน่ารัก
さくらsakuraซะคุระซากุระ
はなhanaฮะนะดอกไม้
みかんmikanมิคังส้ม

หมายเหตุ: เสียงสั้นในญี่ปุ่นสามารถออกเสียงได้ทั้งสั้นและสั้นกึ่งยาวในภาษาไทย บางครั้งเมื่อเขียนในภาษาไทยจึงแทนด้วยสระเสียงยาว เช่น ซากุระ (さくら) ทำให้เวลาคนไทยเวลาพูดภาษาญี่ปุ่นจะออกเสียงยาวกว่าปกติ

ส่งท้าย

ทั้งฮิรางานะ (Hiragana) และคาตาคานะ (Katakana) นั้นมีจำนวนตัวอักษร 46 ตัวเหมือนกัน แต่มีรูปแบบของตัวหนังสือและลักษณะการใช้งานที่ต่างกัน หากสังเกตจากลักษณะการเขียน ตัวฮิรางานะจะมีความมนๆ ส่วนตัวคาตาคานะจะออกเหลี่ยมๆ ยกตัวอย่างคำว่า かわいい VS カワイイ(kawaii) ซึ่งแปลว่าน่ารัก น่าจะแยกกันได้ไม่ยากใช่ไหมคะ

ในตอนหน้าเราจะพาไปรู้จักกับตัวอักษรคาตาคานะให้มากขึ้นพร้อมเทคนิควิธีการจำอีกเช่นเคย หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์กับคนที่เริ่มหัดเขียนตัวหนังสือภาษาญี่ปุ่นไม่มากก็น้อย สำหรับวันนี้ขอลาไปก่อน สวัสดีค่า

อ่านตอนต่อไป » ตัวอักษรญี่ปุ่น คาตาคานะ (Katakana) 46 ตัว พร้อมตาราง+เทคนิควิธีจำ


รูปภาพที่มีโลโก้และบทความในเว็บไซต์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ JapanKakkoii.com