ตารางพยากรณ์ใบแปะก๊วยเปลี่ยนสี 2018 ที่ญี่ปุ่น (อัพเดตล่าสุด Sep 5, 2018)

17165

วันนี้มีเรื่องราวดีๆ สำหรับนักท่องเที่ยวที่อยากไปชมใบไม้เปลี่ยนสีอีกแล้ว ก่อนหน้านี้แอดมินเคยทำตารางพยากรณ์ใบไม้เปลี่ยนสีปี 2018 แต่นั่นเป็นการพยากรณ์ใบไม้เปลี่ยนสีของต้นเมเปิ้ลและต้นไม้ทั่วไปในหุบเขาซึ่งมีสีออกไปทางแดงส้ม แต่ในครั้งนี้เป็นพยากรณ์ของต้นแปะก๊วยซึ่งมีสีออกเหลืองและจะเปลี่ยนสีช้ากว่า ดังนั้นจึงมีพยากรณ์การเปลี่ยนสีแยกต่างหากนั่นเองค่ะ

*ดูพยากรณ์ปี 2019 ได้ที่ » ตารางพยากรณ์ใบแปะก๊วยเปลี่ยนสี 2019 ที่ญี่ปุ่น (อัพเดตล่าสุด)

เกี่ยวกับต้นแปะก๊วย

“แปะก๊วย” หรือ “กิงโกะ (Ginkgo)” แต่เดิมเป็นสมุนไพรที่มีต้นกำเนิดจากประเทศจีนที่นำเข้ามาภายในประเทศญี่ปุ่นราวๆ ปี ค.ศ. 1300 ชื่อภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า “อิโจ (Icho/イチョウ)” และยังมีชื่อเรียกอื่นๆ อีก แต่การเรียกชื่อต้นแปะก๊วยใช้คำว่า “อิโจ (Icho/イチョウ)” แต่ในกรณีที่เป็นเมล็ดแปะก๊วยที่นำมารับประทานจะเรียกว่า ‘กินนัง’ (Ginnan/銀杏)  

ต้นแปะก๊วยมีทั้งเพศผู้และเพศเมีย มีลักษณะเด่น คือ มีใบคล้ายกับใบพัด ในช่วงฤดูใบไม้ร่วงจะค่อยๆ เปลี่ยนสีจากสีเขียวเป็นสีเหลืองทีละส่วน ซึ่งกินเวลาตั้งแต่ 1 สัปดาห์ขึ้นไป และเมื่อเปลี่ยนสีเพร้อมกันหมดทั้งต้นแล้ว ใบก็จะร่วงหมดต้นภายในไม่กี่วัน (ปกติจะใช้เวลาไม่เกิน 1 สัปดาห์) แต่ช่วงที่เปลี่ยนสีและร่วงจะมีกลิ่นฉุน คนส่วนใหญ่จึงนิยมเดินชมมากกว่าการนั่งชมใต้ต้นไม้แบบการชมซากุระ

ตารางพยากรณ์ใบแปะก๊วยเปลี่ยนสีทั่วประเทศญี่ปุ่นปี 2018

วิธีการดูตารางพยากรณ์

  • ช่องแรกเป็นชื่อสถานที่ที่นิยมในการชมต้นแปะก๊วย หรือมีงานเทศกาลชมต้นแปะก๊วยโดยเฉพาะซึ่งเหมาะแก่การเดินชมและถ่ายรูป หรือเป็นต้นแปะก๊วยที่มีความเก่าแก่และมีความเชื่อในด้านศาสนา
  • ช่องสุดท้ายเป็นพยากรณ์วันที่เริ่มพีคของใบแปะก๊วย ซึ่งจะมีสีเหลืองอร่ามทั้งต้นอยูประมาณ 1 สัปดาห์นับจากวันที่ในตาราง ช่วงนี้จะเป็นช่วงที่เหมาะแก่การชมอย่างยิ่งค่ะ

พยากรณ์ใบไม้แปะก๊วยอัพเดตล่าสุด Sep 5, 2018

ภูมิภาคฮอกไกโด (Hokkaido)

ชื่อสถานที่
เมือง / จังหวัด
วันที่เริ่มพีค
Hokkaido University Ginkgo Avenue
(北海道大学イチョウ並木)
Sapporo, Hokkaido 1 พฤศจิกายน ~

ภูมิภาคโทโฮคุ (Tohoku)

ชื่อสถานที่
เมือง / จังหวัด
วันที่เริ่มพีค
Morioka Castle Park (Iwate Park)
(盛岡城跡公園 / 岩手公園)
Morioka, Iwate 3 พฤศจิกายน ~
Azuma Sport Park
(あづま総合運動公園)
Fukushima 4 พฤศจิกายน ~

ภูมิภาคคันโต (Kanto)

ชื่อสถานที่
เมือง / จังหวัด
วันที่เริ่มพีค
Showa Memorial Park
(国営昭和記念公園)
Tachikawa, Tokyo 13 พฤศจิกายน ~
Meiji Jingu Gaien Park
(明治神宮外苑)
Shinjuku, Tokyo 27 พฤศจิกายน ~

ภูมิภาคจูบุ (Chubu)

ชื่อสถานที่
เมือง / จังหวัด
วันที่เริ่มพีค
Shirakawa-go
(白川郷)
Gifu 23 ตุลาคม ~

ภูมิภาคคันไซ (Kansai)

ชื่อสถานที่
เมือง / จังหวัด
วันที่เริ่มพีค
Osaka Castle Park
(大阪城公園)
Osaka 14 พฤศจิกายน ~

ภูมิภาคจูโงกุ (Chugoku)

ชื่อสถานที่
เมือง / จังหวัด
วันที่เริ่มพีค
Ryuzoji Temple
(龍蔵寺)
Yamaguchi 18 พฤศจิกายน ~

ภูมิภาคชิโกกุ (Shikoku)

ชื่อสถานที่
เมือง / จังหวัด
วันที่เริ่มพีค
Okubo-ji Temple
(大窪寺)
Kagawa 6 พฤศจิกายน ~

ภูมิภาคคิวชู (Kyushu)

ชื่อสถานที่
เมือง / จังหวัด
วันที่เริ่มพีค
Shimojo no Oicho
(下城の大イチョウ)
Kumamoto 2 พฤศจิกายน ~
Oicho
(大公孫樹)
Saga 20 พฤศจิกายน ~

หมายเหตุ : ทั้งสองที่นี้ในคิวชูเป็นต้นแปะก๊วยขนาดใหญ่ (ควรเสิร์ชเป็นภาษาญี่ปุ่นจะได้ข้อมูลที่ตรงกว่าภาษาอังกฤษ)

นอกจากสถานที่ดังกล่าวที่ยกมาก็ยังมีต้นแปะก๊วยให้ชมอีกมากทั่วญี่ปุ่น โดยปลูกอยู่ในเมืองใหญ่หลายแห่ง ซึ่งสามารถหาชมได้ทั่วไป เช่น ในเมืองโตเกียวก็มีปลูกตามถนนหลายสายในย่าน Shinjuku, Ikebukuro, ลานหน้าสถานี Tokyo Station (ฝั่ง Marunouchi), มหาวิทยาลัย Tokyo University ส่วนในเมืองโอซาก้าก็มีที่ถนนหลายสายในย่าน Shisaibashi และ สวนพฤกษชาติ Nagai เป็นต้น

หวังว่าบทความพยากรณ์ใบแปะก๊วยเปลี่ยนสีนี้จะเป็นประโยชน์ให้กับเพื่อนๆ ที่จะไปเที่ยวญี่ปุ่นในฤดูใบไม้ร่วงนี้นะคะ แล้วแอดมินจะคอยอัพเดตให้อย่างต่อเนื่องค่ะ สำหรับวันนี้สวัสดีค่า

อ้างอิงข้อมูลจาก : weathernews.com


บทความท่องเที่ยวช่วงใบไม้เปลี่ยนสี

ภูมิภาคคันโต (Kanto)
ภูมิภาคคันไซ (Kansai)
ภูมิภาคโทโฮคุ (Tohoku)

+ ดูบทความท่องเที่ยวช่วงใบไม้เปลี่ยนสีทั้งหมด

ค้นหาและเทียบราคาที่พักในญี่ปุ่น

ข้อมูลการอัพเดทพยากรณ์ใบไม้เปลี่ยนสี
ครั้งที่ 1 : Sep 5, 2018

รูปภาพที่มีโลโก้และบทความในเว็บไซต์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ JapanKakkoii.com