7 เรื่องราวน่ารู้ของไปรษณีย์ญี่ปุ่น (Japan Post)

21111
Japan Post

Cover Photo: jp-message.japanpost.jp

สวัสดีค่า วันนี้เราอยากจะนำเสนอสิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งของประเทศญี่ปุ่นค่ะ ก่อนหน้านี้เพื่อนๆ อาจจะเคยเห็นรายการโทรทัศน์ญี่ปุ่นได้นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับไปรษณีย์ที่ไทยบ้างแล้ว วันนี้เราจึงอยากให้เพื่อนๆ ได้ทำความรู้จักไปรษณีย์ญี่ปุ่นดูบ้าง เราไปดูกันดีกว่าว่าเรื่องราวของไปรษณีย์ญี่ปุ่นจะเป็นอย่างไรบ้าง

มามะ มาส่องไปรษณีย์ญี่ปุ่นกัน!

1. ไปรษณีย์ญี่ปุ่นมีบริการธนาคาร 「ゆうちょ銀行」

大阪中央郵便局・ゆうちょ銀行大阪支店Photo: ja.wikipedia.org

หน้าตาไปรษณีย์จะคล้ายๆ ธนาคารบ้านเราค่ะ สีส้มคือไปรษณีย์ ส่วนสีเขียวคือสีของธนาคาร ^^~

ゆうちょ銀行 อ่านว่า: ยูโจะกิงโค (ชื่อภาษาอังกฤษ: Japan Post Bank) โดยทั่วไปแล้วไปรษณีย์ไทยเองก็มีบริการทางการเงินในรูปแบบธนณัติ แต่ไปรษณีย์ญี่ปุ่นนั้นจะมีบริการด้านธุรกรรมทางการเงินอย่างครบครัน

แต่จะมีข้อจำกัดบางประการที่ไม่สามารถทำได้ อาทิ การโอนเงินระหว่างประเทศโดยใช้ ATM ค่ะ แต่โดยรวมแล้วบริการด้านธนาคาร ลูกค้าสามารถเปิดบัญชีธนาคาร ทำบัตร ATM และมีตู้ ATM ให้บริการ รวมไปถึงเคาท์เตอร์สำหรับธุรกรรมทางการเงินโดยเฉพาะอีกด้วย

เว็บไซต์ของ ゆうちょ銀行:jp-bank.japanpost

2. ไปรษณีย์ญี่ปุ่นมีกล่องพัสดุรองรับหลายแบบ(มากกก)

post-package-1 Photo:post.japanpost.jp

เวลาเราส่งวัสดุที่มีรูปร่างแปลกๆ ที่ไทย เราต้องหาวัสดุห่อเองใช่มั้ยคะ แบบต้องห่อป้องกันกระแทก(แรงๆ)ด้วย แต่ไปรษณีญี่ปุ่นนอกจากจะมีให้เลือกเป็นกล่องหรือแบบซองเอกสารแล้ว ยังมีบรรจุภัณฑ์เป็นถุงมีหูหิ้วแบบถุงช็อปปิ้ง ถุงกระดาษแบบถุงใส่แมคโดนัล กล่องแบบแท่งยาวๆ ถุงพลาสติก กล่องใส่ขวดสาเกหรือไวน์ รวมไปถึงแบบพลาสติกซิพล๊อคขนาดใหญ่อีกด้วย บางประเภทเราเองก็ไม่ค่อยเข้าใจเหมือนกันค่ะ(ฮา~)

post-package-2 สำหรับใส่ขวดสาเกหรือไวน์

Photo:post.japanpost.jp

post-package-3 สำหรับห่อหุ้มสิ่งของ เช่น ถุงกอล์ฟ สโนว์บอร์ด อุปกรณ์สกี

Photo:post.japanpost.jp

เพิ่มเติมเล็กน้อยคือ ญี่ปุ่นนั้นมีการส่งสาเกหรือไวน์เป็นของขวัญด้วย หลังจากที่เราพิจารณาบรรจุภัณฑ์ของไปรษณีย์ญี่ปุ่นดูแล้ว การขนส่งรวมทั้งการดูแลพัสดุต้องใช้ความเอาใจใสอย่างมาก (หันมามองไปรษณีย์ไทยซิ ==)

3. ไปรษณีย์ที่ญี่ปุ่นมี Shop จำหน่ายสินค้า(รับของทางไปรณีย์)
post-shop

Photo: shop.post.japanpost.jp

ไปรษณีย์ไทยมักจะมีการจำหน่ายสแตมป์ตามโอกาสพิเศษต่างๆ รวมไปถึงพวกเหรียญที่ระลึกต่างๆ แต่ส่วนใหญ่คือเราไปซื้อที่ไปรษณีย์เอง

post-funasshi Photo: shop.post.japanpost.jp

ไปรษณีย์ญี่ปุ่นไหนๆ ก็มีเหมือนกันค่ะ แต่ว่าเขาขายแทบทุกอย่างที่ส่งทางไปรษณีย์ได้ ซึึ่งเราเองสามารถซื้อผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้ด้วย เหมือนกับร้านค่าทางอินเทอร์เน็ต อย่างพวก Yahoo! Amazon เลยค่ะ และมี Shop แยกสำหรับการจำหน่ายสแตมป์ด้วยนะ ช่วงนี้ของยิดฮิตก็จะเกี่ยวกับฟุนัชชี่ เจ้ามาสคอสจอมโวยวายนั่นเอง ^^

4. ไปรษณีย์ญี่ปุ่นยังมีพนักงานส่งจดมายและพัสดุโดยการปั่นจักรยาน

photo1 Photo: kenoh.com

ท่ามกลางเมืองที่เจริญทั้งทางด้านเทคโนโลยีแต่ว่าการส่งจดหมายโดยจักรยานยังคงมีอยู่ แต่จะเป็นจักรยานรุ่นเฉพาะเลยเห็นก็รู้ว่าไปรษณีย์แน่ๆ ^^ แถวบ้านเรานี่คุณลุงแกปั่นผ่านหน้าบ้านประจำ คิดว่าคงเป็นภาพที่หาได้ยากแล้วล่ะ สำหรับการส่งจดหมายแบบนี้ เป็นเสน่ห์เล็กๆ น้อยๆ ที่เราชอบ ดูขัดๆ กับอิมเมจการทำงานที่เร่งรีบของคนญี่ปุ่นไปอีกแบบหนึ่ง สำหรับเมืองไทยบุรุษไปรษณีย์จะมาพร้อมกับมอเตอร์ไซค์คู่ใจเนอะ

5. ไปรษณีย์ที่ญี่ปุ่นมีบริการนัดรับของเป็นช่วงเวลา

post-notice ไปรษณีย์ไทยเวลาไม่มีคนเซนต์รับพัสดุจะมีใบแจ้งให้เราไปรับของที่ไปรษณีย์ แต่ว่าปัญหามีอยู่ว่า ถ้าเป็นไปรษณีย์เขตใน กทม. ซึ่งยากมากกว่าจะทราบว่าของอยู่ไปรษณีย์ไหนอะไรยังไง และต้องลำบากฝ่ารถติดไปเอาอีก T^T

ไปรษณีย์ญี่ปุ่นเองก็มีการเซ็นบของเช่นกันค่ะ ถ้าไม่มีคนเซ็นรับ เขาก็จะหย่อนใบนัดรับของไว้ในตู้จดหมายแทน ไฮไลท์อยู่ตรงนี้ คือเราสามารถโทรนัดเวลาการรับ (Resend) อีกครั้งหนึ่ง โดยเรานัดเวลาที่สะดวกแล้วตากแอร์รออยู่ที่บ้านได้เลย สะด๊วก สะดวก

6. เครื่องแบบของไปรษณีย์ญี่ปุ่น

5 Photo: kashimacity.com

เครื่องแบบของไปรษณีย์ไทยส่วนใหญ่จะเป็นเสื้อโปโล โทนสีดำแดง บุรุษไปรษณีย์จะมีเสื้อคลุมที่มีตราไปรษณีย์ สำหรับไปรษณีย์ญี่ปุ่นจะแยกเครื่องแบบค่อนข้างชัดเจน

พนักงานที่ให้บริการที่ทำการไปรษณีย์จะใส่สูทสีดำ เหมือนพนักงานบริษัททั่วไปแต่จะมีป้ายพนักงานไปรษณีย์ ส่วนบุรุษไปรษณีย์จะเป็นเครื่องชุดสีกรมท่าทั้งตัว ใส่หมวกกันน๊อคสีขาว (ตอนส่งของเขาก็ไม่ถอดนะ 555) และมีแถบสีเงินทับเสื้อนอกอีกที รวมถึงจะมีป้ายพนักงานคล้องคอ บุรุษไปรษณีย์จะมาพร้อมเครื่องยิงบาร์โค้ดพัสดุเสมอ

7. การเขียนที่อยู่แบบญี่ปุ่น

sample-omote-futou12 Photo: jp-guide.net

เมืองไทยรวมถึง หลายๆประเทศจะเขียนที่อยู่ เริ่มต้นจากหน่วยที่เล็กที่สุด คือ ชื่อ บัานเลขที่ ถนน ฯลฯ ที่ญี่ปุ่นนั้นการเขียนที่อยู่ในการส่งไปรษณีย์จะเริ่มจากหน่วยที่ใหญที่สุดคือ หมายเลขไปรษณีย์ จังหวัด เขต และสุดท้ายคือ ชื่อผู้รับ

วันนี้แนะนำให้เพื่อนๆ ได้รู้จักไปรษณีย์ญี่ปุ่นมากขึ้นอีกนิด คงจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย หากต้องใช้บริการของไปรษณีย์ญี่ปุ่นนะคะ สำหรับวันนี้สวัสดีค่ะ ^_^~


รูปภาพที่มีโลโก้และบทความในเว็บไซต์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ JapanKakkoii.com